วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



การดูแลแมวในระยะต่าง ๆ

การดูแลแม่แมวหลังคลอด

ภายหลังการคลอด2-3ชั่วโมง ควรให้แม่แมวกินน้ำนมหรือ อาหารเหลวอุ่นสัก 1 ถ้วยและมีน้ำให้กินตลอดเวลา จากนั้นค่อยให้อาหารแข็งในช่วง 24-48 ชั่วโมง ในระยะ 2-3วันหลังคลอด แม่แมวยังคงมีน้ำคร่ำและเลือดค้างอยู่ในมดลูก จึงเห็นเป็นของเหลวข้นสีดำเขียว ไหลออกทางช่องคลอด

การดูแลลูกแมวหลังคลอด

หลังจากคลอดเสร็จแล้วให้รีบนำลูกแมวไปกินน้ำนมเหลืองจากแม่แมวให้เร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมง เพราะจะมีภูมิคุ้มกันโรคที่ได้รับการถ่านทอดจากแม่แมวและมีสารอาหารต่างๆครบถ้วน ควรให้ลูกกินนมแม่จนกว่าจะหย่านมในอายุประมาณ 4-6 สัปดาห์ 
การดูแลระหว่างนี้ ควรปล่อยให้ลูกแมวอยู่กับแม่ตลอดเวลา และคอยจัดหาอาหารและน้ำสะอาดให้แม่แมว
ลูกแมวที่เกิดใหม่ๆ ควรอยู่ในที่ๆอบอุ่นและเงียบสงบ เพื่อให้นอนหลับมากที่สุด ลูกแมวที่สมบูรณ์ดีสายสะดือจะแห้งและหลุดออกไปภายใน2-3วัน และจะลืมตาเมื่ออายุประมาณ 9-15 วัน ระยะนี้ไม่ควรจับลูกแมวเล่นบ่อยๆ เพราะอาจเกิดการติดเชื้อได้ 
ก่อนหย่านมต้องฝึกให้ลูกแมวกินอาหารเสริม แล้วต่อมาจึงค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารแข็ง เมื่อหย่านมแล้วจะได้กินอาหารเป็นน้ำหนักไม่ลด 

การดูแลลูกแมวหลังหย่านม

ลูกแมวสามารถหย่านมได้ เมื่ออายุ ตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ก่อนหย่านมต้องฝึกให้ลูกแมวกินอาหารเสริมก่อนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเมื่อหย่านม ลูกแมวจะโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 6-7 เดือน ตัวผู้มีน้ำหนักประมาณ 3-5 กิโลกรัม ตัวเมียมีน้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม 

ตารางการให้อาหารลูกแมวหลังหย่านม 



การดูแลแมวแก่ 

แมวแก่หรือแมวที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปจะพบว่ากิจกรรมประจำวันจะเริ่มลดลง เช่น นอนมากขึ้น น้ำหนักจะลดลง การะหายน้ำเพิ่มขึ้น ความสามารถในการมองเห็นและการได้ยินลดลง แมวแก่จึงควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ดังนี้ 
1. การตรวจสุขภาพเป็นประจำ
2. ตรวจดูว่าเล็บยาวเกิน 
3. ไปหรือไม่ให้นอนในที่อบอุ่น ห่างลม และอากาศเย็น 
4. ให้อาหารที่มีคุณภาพ โปรตีนที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา หรือไข่ต้ม

การควบคุมดูแลแมวที่มีอายุมากของคุณเกี่ยวกับอาการของโรคต่างๆ 

ถ้าแมวที่มีอายุมีท่าทางว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างเกี่ยวกับหน้าที่ของระบบต่างๆในร่างกายมากขึ้น อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากการมีอายุมากขึ้น หรืออาจจะเกิดจากการมีโรคเกิดขึ้นก็ได้ ซึ่งเหล่านี้จะช่วยเตือนให้รู้ว่าเป็นโรคได้แต่เนิ่นๆ ขบวนการ

1.การควบคุมการกินอาหาร ว่าจะให้กินเมื่อใด กินอาหารประเภทไหน มีการกินหรือการกลืนลำบากหรือเปล่า และอาเจียนหรือไม่ 
2.การควบคุมการกินน้ำ โดยดูว่ามีการกินน้ำมากกว่าหรือน้อยกว่าปกติหรือไม่ 
3.การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระโดยดูที่ สี ปริมาณ ความเข้มข้น ความถี่ในการขับถ่าย หรือดูว่ามีอาการเจ็บปวดขณะปัสสาวะหรืออุจจาระหรือไม่ หรือดูว่ามีการขับถ่ายเรี่ยราดหรือไม่ 
4.ชั่งน้ำหนักทุกๆ 2 เดือน 
5.. มีการตรวจและตัดเล็บ ตรวจดูแผลตามตัว รวมถึงกลิ่นที่ผิดปกต การขยายใหญ่ของช่องท้องและดูว่ามีอาการขนร่วงหรือไม่ 
6..การควบคุมด้านพฤติกรรม ดูการนอน การแสดงออกต่อผู้คนรอบข้างมีอาการตกใจง่ายหรือไม่ และลักษณะท่าทางการนอนผิดปกติหรือไม่ 
7..การควบคุมด้านท่าทางและการเคลื่อนไหว เช่นมีการชักหรือไม่ การสูญเสียการทรงตัว หรือเจ็บขา 
8.ดูความผิดปกติของการหายใจ หรือดูว่ามีการไอ มีการหอบหายใจ การจามหรือไม่ 
9.ดูแลสุขภาพฟัน แปรงฟันให้แมวอย่างสม่ำเสมอ ดูว่ามีสิ่งผิดปกติในปากหรือไม่ ดูปริมาณน้ำลาย และดูลักษณะสีของเหงือกว่าเป็นสีเหลือง ชมพูหรือม่วง 
10.ควบคุมอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมว่าแมวของคุณมีความสุขสบายหรือไม่ 
11.พาไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ของคุณเป็นประจำ 

ลักษณะอาการที่พบบ่อยและโรคที่เกี่ยวข้อง 

1. การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม โรคที่เกี่ยวข้อง คือ ความเจ็บปวดจากข้ออักเสบหรือสภาวะอื่นๆ การสูญเสียการมองเห็นและการได้ยิน โรคตับ โรคไต โรค Hepatic lipidosis 
2. การอ่อนเพลียหรือเหนื่อยง่าย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ การทำงานผิดปกติของ Mitral valve โรคหัวใจ โรคโลหิตจาง โรคอ้อน โรคมะเร็ง 
3.การเปลี่ยนแปลงในด้านความกระตือรือร้นของร่างกาย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรค Hyperthyroidism โรคข้ออักเสบ ความเจ็บปวดต่างๆ ความอ้วน โลหิตจาง ความผิดปกติของ Mitral valve และโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคมะเร็ง 
4.น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น โรคที่เกี่ยวข้อง คือ ความอ้วน 
5.น้ำหนักลด โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคมะเร็ง โรคไต โรคตับ โรคของระบบทางเดินอาหาร การกินอาหารลดลง Hyperthyroidism Hepatic lipidosis โรคฟัน ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ Mitral valve โรคหัวใจ การอักเสบของลำไส้ 
6.การไอ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคหอบ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง 
7.การดื่มมากและปัสสาวะบ่อย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต Hyperthyroidism 
8.การอาเจียน โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคไต โรคตับและโรคของระบบทางเดินอาหาร 
9.อาการท้องเสีย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคของระบบทางเดินอาหาร การอักเสบของลำไส้ โรคไต โรคตับ และอาจเกิดจากการเปลี่ยนอาหารเร็วเกินไป 
10.การชัก โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคลมชัก ( Epilepsy ) โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต 
11.อาการลมหายใจเหม็นผิดปกติ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคฟัน โรคมะเร็งในช่องปาก โรคไต
12.อาการขาเจ็บ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ การลุกลำบาก การเดินผิดปกติ ข้ออักเสบ ความอ้วน เบาหวาน 
13.การกลั้นปัสสาวะไม่ได้หรือการถ่ายเรี่ยราด โรคที่เกี่ยวข้อง คือ การเป็นเนื่องจากข้ออักเสบ การอักเสบของลำไส้ Bladder stones โรคมะเร็ง 
14.อาการบวมและการกระแทก โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ 
15.การเปลี่ยนความอยากของอาหาร โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต ความเครียดและความเจ็บปวดต่างๆ อาจเกิดจากฤทธิ์ของยา โรคปากและฟัน Hyperthyroidism และ Hepatic lipidosis